วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554

ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลหนองแวง
เตือนภัยศัตรูข้าวระบาด
ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 เดือน สิงหาคม 2552 องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง








โรคไหม้ข้าว
พบมากในนาน้ำฝน ข้าวพันธุ์พื้นเมือง พบส่วนใหญ่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตระวันตก และภาคใต้
สาเหตุ / เกิดจากเชื้อรา
อาการ - ระยะกล้า ใบมีแผล จุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตา มีสีเทาอยู่ตรงกลางแผล ความกว้างของแผลประมาณ 2-5 มิลลิเมตร และความยาวประมาณ 10-15 มิลลิเมตร แผลสามารถขยายลุกลามและกระจายทั่วบริเวณใบ ถ้าโรครุนแรงกล้าข้าวจะแห้งฟุบตาย อาการคล้ายถูกไฟไหม้
- ระยะแตกกอ อาการพบได้ที่ใบ ข้อต่อของใบ และข้อต่อของลำต้น ขนาดแผลจะใหญ่กว่าที่พบในระยะกล้า แผล ลุกลามติดต่อกันได้ที่บริเวณข้อต่อ ใบจะมีลักษณะแผลช้ำสีน้ำตาลดำและมักหลุดจากกาบใบเสมอ





- ระยะคอรวง ( ระยะออกรวง) ถ้าข้าวเพิ่งจะเริ่มให้รวง เมื่อถูกเชื้อราเข้าทำลาย เมล็ดจะลีบหมด แต่ถ้าเป็นโรคตอน รวงข้าวแก่ใกล้เก็บเกี่ยว จะปรากฏรอยแผลช้ำสีน้ำตาลที่บริเวณคอรวง ทำให้เปาะหักง่าย รวงข้าวเสียหายมาก



การแพร่ระบาด พบโรคแปลงที่ต้นข้าวหนาแน่น ทำให้อับลม ถ้าใส่ปุ๋ยมากและมีสภาพแห้งในตอนกลางวันและชื้นจัดในตอนกลางคืน น้ำค้างยาวนาน ถึงตอนสายราว 9 โมงเช้า ถ้าอากาศค่อนข้างเย็น อุณหภูมิประมาณ 22-25 องศาเซนเซียส ลมแรงจะช่วยทำให้โรคแพร่กระจายได้ดี

การป้องกันกำจัด
- ใช้พันธุ์ต้านทานโรค เช่น
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น สุรินทร์ 1 เหนียวอุบล 2 เหนียวแพร่ สันป่าตอง 1 หางยี 71
- หว่านเมล็ดพันธุ์ในอัตราที่เหมาะสม คือ 15-20 กก./ ไร่ ควรแบ่งแปลงให้มีการระบายถ่ายเทอากาศ อย่าใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป ( ยูเรีย ) ถ้าถึง 50 กก./ไร่ โรคไหม้จะพัฒนาอย่างรวดเร็ว
- คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารกำจัดเชื้อรา เช่น คาซูกะมัยซิน ไตรไซคลาโซล คาร์เบนดาซิม ตามอัตราที่ระบุในแหล่งที่เคยมีโรคระบาดและพบแผลโรคไหม้ทั่วไป 5 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ใบ ควรฉีดพ่นสารเคมี เช่น อิดิเฟนฟอส ไตรไซคาโซล ไอโซโปรไธโอเลน คาร์เบนดาซิม ตามอัตราที่ระบุ



พบมากในนาน้ำฝน นาชลประทาน ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้
สาเหตุ : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
อาการ : โรคนี้เป็นได้ตั้งแต่ระยะกล้า แตกกอ จนถึงออกรวง ต้นกล้าก่อนนำไปปักดำจะมีจุดเล็ก ๆ ลักษณะช้ำที่ขอบใบของใบล่าง ต่อมาประมาณ 7-10 วัน จุดช้ำนี้จะขยายกลาย เป็นทางสีเหลืองยาวตามใบข้าว ใบที่เป็นโรคจะแห้งเร็ว และสีเขียวจะจางลงเป็นสีเทา ๆ อาการในระยะปักดำจะแสดงหลังปักดำแล้ว หนึ่งเดือน – เดือนครึ่ง ใบที่เป็นโรคขอบใบมีรอยขีดช้ำ ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ที่แผลมี




หยดน้ำสีครีม คล้ายยางสนกลม ๆ ขนาดเล็กเท่าหัวเข็มหมุด ต่อมาจะกลายเป็นสีน้ำตาล และหลุดไปตามลม น้ำหรือฝน ซึ่งจะสามารถทำให้โรคะบาดต่อไปได้ แผลจะขยายไปตามความยาวของใบบางครั้งขยายเข้าไปข้างใน ตามความกว้างของใบขอบแผลมีลักษณะเป็นขอบลายหยัก แผลนี้เมื่อนานไปจะเปลี่ยนเป็นสีเทา ใบที่เป็นโรค ขอบใบจะแห้งและม้วนตามความยาว ในบางกรณีที่เชื้อ มีปริมาณสูง เข้าทำลาย ทำให้ท่อน้ำท่ออาหารอุดตัน ต้นข้าวทั้งต้นจะเหี่ยวเฉาและตายโดยรวดเร็วเรียกอาการนี้ว่า
ครีเสก
การแพร่ระบาด : แพร่ระบาดติดไปกับน้ำ ในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง ในสภาพที่มีฝนตก ลมพัดแรง จะช่วยให้โรคแพร่กระจายอย่างกว้างขวางรวดเร็ว
การป้องกันกำจัด :
- ใช้พันธุ์ข้าวต้านทาน เช่นในภาคกลาง ใช้พันธุ์สุพรรณบุรี 60 พันธุ์สุพรรณบุรี 90 พันธุ์สุพรรณบุรี 1 พันธุ์สุพรรณบุรี 2 แล ะกข 23
- ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในดินที่อุดมสมบูรณ์อยู่แล้ว
- ไม่ควรระบายน้ำจากแปลงนาที่เป็นโรคไปสู่แปลงอื่น
- ควรเฝ้าระวังการเกิดโรค ถ้าปลูกข้าวพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคนี้ เช่นพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 กข 6 เหนียวสันป่าตอง พิษณุโลก 2
การใช้สารเคมีในกรณีที่พบการระบาดรุนแรง
- ใช้สเตร็พโตมัยซินซัลเฟต+ ออกซิเตรตตราไซคลินไฮโดรคลอร์ไรด์ ฉีดพ่น ตามคำแนะนำ









หนอนกอข้าวหนอนกอทำลายข้าวตั้งแต่ข้าวเล็ก จนถึงระยะข้าวออกรวง ในประเทศไทยมีรายงานพบ 4
ชนิดคือ หนอนกอสีครีม หนอนกอแถบลาย หนอนกอแถบลายม่วง และหนอนกอสีชมพู
ลักษณะการทำลายและการระบาด
หนอนกอข้าวทั้ง 4 ชนิดทำลายข้าวลักษณะเดียวกัน โดยหลังจากหนอนฟักออกจากไข่จะเจาะเข้าทำลายกาบใบ ทำให้กาบใบมีสีเหลืองหรือน้ำตาล ซึ่งจะเห็นเป็นอาการช้ำๆ เมื่อฉีกกาบใบดูจะพบตัวหนอน เมื่อหนอนโตขึ้นจะกัดกินส่วนของลำต้น ทำให้เกิดอาการใบเหี่ยวในระยะแรก ใบและยอดที่ถูกทำลายจะเหลืองในระยะต่อมา ซึ่งทำลายในระยะข้าวแตกกอนี้ทำให้เกิดอาการ ยอดเหี่ยว ถ้าหนอนเข้าทำลายระยะข้าวตั้งท้องหรือหลังจากข้าวออกรวง จะทำให้เมล็ดข้าวลีบทั้งรวง รวงข้าวมีสีขาว เรียกอาการนี้ว่า ข้าวหัวหงอก
หนอนกอข้าวเป็นแมลงศัตรูข้าวที่พบเป็นประจำในนาข้าว แต่มักจะไม่ทำความเสียหายข้าวลีบทั้งรวง รวงข้าวมีสีขาวเรียกอาการนี้ว่า รุนแรงเช่นเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล พบปริมาณมากในฤดูนาปรัง การทำลายจึงสูงกว่าฤดูนาปี ผีเสื้อหนอนกอข้าวจะเคลื่อนย้ายเข้าสู่แปลงนาเมื่อข้าวอายุระหว่าง 30-50 วัน การระบาดมากน้อยขึ้นกับสภาพแวดล้อม และฤดูการทำนาของสถานที่นั้น ๆ สามารถเพิ่มปริมาณได้2-3 อายุขัยต่อฤดูปลูก
พืชอาหาร
ข้าว อ้อย ข้าวโพด ข้าวป่า หญ้าตีนกา
การป้องกันกำจัด
1. เผาตอซังหลังการเก็บเกี่ยว ไขน้ำท่วมและไถดินเพื่อทำลายหนอนและดักแด้ของหนอนกอข้าวที่อยู่ตามตอซังข้าว
2. ปลูกพืชอื่นเพื่อตัดวงจรชีวิตของหนอนกอข้าว ปลูกพืชหมุนเวียน
3. ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป ทำให้ใบข้าวงาม หนอนกอชอบวางไข่
4. ใช้ไฟล่อตัวเต็มวัยและทำลาย
5. ไม่ใช้สารฆ่าแมลงชนิดเม็ดในนาข้าว เพื่อช่วยให้ศัตรูธรรมชาติ พวกแตนเบียนไข่ของหนอนกอข้าว สามารถควบคุมประชากรหนอนกอข้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. เมื่อพบอาการข้าวยอดเหี่ยวในระยะข้าว 3-4 สัปดาห์หลังหว่าน / ปักดำในระดับ 10-15 % ให้ใส่สารชนิดพ่นน้ำ เช่น คลอร์ไพริฟอส อัตรา 80 มิลลิกรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วแปลงเพียงครั้งเดียว
สารเคมีที่ใช้ควบคุม
- คาร์แทป 4 กก./ไร่
- คาร์แทป + ไอโซดพคาร์บ 3 กก./ไร่
สารสมุนไพรที่ใช้ควบคุม
- เถาบอระเพ็ด ( เครือกอฮอ ) นำมาทุบแล้วมัดเป็นกำขวางไว้ที่ทางน้ำไหลเข้าแปลงนา จะช่วยไล่หนอนกอได้

เพลี้ยกระโดดสีนำ้ตาลเป็นแมลงพวกปากดูด ตัวเต็มวัยมีลำตัวสีน้ำตาลปนดำ มีรูปร่าง 2 ลักษณะ คือชนิดปีกยาว และชนิดปีกสั้น ชนิดมีปีกยาว สามารถเคลื่อนย้ายและอพยพไปในระยะทางใกล้และไกล โดยอาศัยกระแสลมช่วย ตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่เป็นกลุ่ม ส่วนใหญ่วางไข่ที่กาบใบข้าว หรือเส้นกลางใบ โดยวางไข่เป็นกลุ่ม เรียงแถวตามแนวตั้งฉากกับกาบใบข้าว บริเวณที่วางไข่จะมีรอยช้ำเป็นสีน้ำตาล ไข่มีลักษณะรูปกระสวยโค้งคล้ายกล้วยหอม มีสีขาวขุ่น ตัวอ่อนมี 5 ระยะ ระยะตัวอ่อน 16-17 วันตัวเต็มวัยเพศเมียชนิดปีกยาว มีขนาด 4-4.5 มิลลิเมตร วางไข่ประมาณ 100 ฟอง เพศผู้มีขนาด 3.5-4 มิลลิเมตร เพศเมียชนิดปีกสั้นวางไข่ประมาณ 300 ฟอง ตัวเต็มวัยมีชีวิตประมาณ 2 สัปดาห์ในหนึ่งฤดูปลูกข้าว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถเพิ่มปริมาณได้ 2-3 อายุขัย

ลักษณะการทำลาย เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยทำลายข้าวโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากเซล บริเวณโคนต้นข้าวระดับเหนือผิวน้ำ ทำให้ต้นข้าวมีอาการใบเหลืองแห้งลักษณะคล้ายถูกน้ำร้อนลวกแห้งตายเป็นหย่อมๆ เรียก อาการไหม้ โดยทั่วไปพบอาการไหม้ระยะข้าวแตกกอถึงระยะออกรวง ซึ่งตรงกับช่วงอายุขัยที่ 2-3 ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว นาข้าวที่ขาดน้ำตัวอ่อนจะลงมาอยู่ทีบริเวณโคนกอข้าวหรือบนพื้นดินที่แฉะ มีความชื้น นอกจากนี้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ยังเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสโรคใบหงิกมาสู่ต้นข้าว ทำให้ต้นข้าวมีอาการแคระแกร็น ต้นเตี้ย ใบสีเขียว แคบและสั้น ใบแก่ช้ากว่าปรกติ ปลายใบบิดเป็นเกลียวและขอบใบแหว่งวิ่น

ปัจจัยที่มีผลต่อการระบาด
วิธีการปลูกข้าว การปลูกข้าวแบบนาหว่านน้ำตมมีปัญหาการระบาดมากกว่านาดำ เพราะนาหว่านมีจำนวนต้นข้าวหนาแน่น ทำให้อุณหภูมิและความชื้นในแปลงนาเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ประกอบกับนาหว่าน เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถทำลายข้าวได้อย่างต่อเนื่อง
การใช้ปุ๋ย การใช้ปุ๋ยอัตราสูง โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน ทำให้การเพิ่มจำนวนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวมีแนวโน้มมากขึ้น เนื่องจากปุ๋ยไนโตรเจน ทำให้ใบข้าวเขียว หนาแน่น ต้นข้าวมีสภาพอวบน้ำเหมาะแก่การเข้าดูดกินและขยายพันธุ์ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
การควบคุมน้ำในนาข้าว สภาพนาข้าวที่มีน้ำขังในนาตลอดเวลาทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถเพิ่มจำนวนได้มากกว่าสภาพที่มีการระบายน้ำในนาออกเป็นครั้งคราว เพราะมีความชื้นเหมาะแก่การเจริญเติบโตของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
การใช้สารฆ่าแมลง การใช้สารฆ่าแมลง ในระยะที่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นตัวเต็มวัยชนิดปีกยาวหรือช่วงที่อพยพเข้าในนาข้าวใหม่ ๆ ( ข้าวระยะ 30 วัน หลังหว่าน ) ศัตรูธรรมชาติจะถูกทำลาย และสารฆ่าแมลงก็ไม่สามารถทำลายไข่ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ ทำให้ตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่มีโอกาสรอดชีวิตสูง
ศัตรูธรรมชาติที่มีบทบาทในการควบคุมประชากรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้แก่
มวนเขียวดูดไข่ เป็นตัวห้ำที่สำคัญทำลายไข่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยการดูดกินของเหลวภายในไข่มักพบแพร่กระจายในภาคกลางเป็นส่วนใหญ่และอพยพมาพร้อมกับเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ซึ่งถ้าพบมวนชนิดนี้ในนามากกว่าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล 2-3 เท่า มวนชนิดนี้สารถควบคุมการเพิ่มปริมาณของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผลผลิตข้าวได้


แมลงมุมสุนัขป่า เป็นตัวห้ำที่มีบทบาทมากที่สุดในการควบคุมปริมาณตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว เนื่องจากสามารถเคลื่อนย้ายไปมาในพื้นที่ต่างๆในนา โดยจะเคลื่อนย้ายเข้าในนาระยะหลังหว่านข้าวและจะเพิ่มปริมาณสูงในระยะข้าวแตกกอ


การบริหารจัดการเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
1. ปลูกข้าวพันธุ์ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เช่น สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 2
สุพรรณบุรี 90 สุพรรณบุรี 60 ปทุมธานี 1 ชัยนาท 1 และชัยนาท 2 และไม่ควรปลูกพันธุ์เดียวกันติดต่อกันเกิน 4 ฤดูปลูก ควรปลูกสลับกันระหว่างพันธุ์ต้านทานสูงกับพันธุ์ทนทานหรือพันธุ์อ่อนแอปานกลางโดยพิจารณาอายุการเก็บเกี่ยวให้ใกล้เคียงกัน เพื่อลดความเสียหายเมื่อเกิดการระบาดรุนแรง
2. ในแหล่งที่มีการะบาด และควบคุมน้ำในนาได้ หลังปักดำหรือหว่าน 2-3 สัปดาห์จนถึงระยะตั้งท้อง ควบคุมน้ำในนาให้พอดินเปียกหรือมีน้ำเรี่ยผิวดินนาน 7-10 วันแล้วปล่อยขังทิ้งไว้ให้แห้งเองสลับกันไป จะช่วยลดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
3. เมื่อตรวจพบสัดส่วนของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลตัวเต็มวัยต่อมวนเขียวดูดไข่ระหว่าง 6 : 1 – 8 : 1 หรือตัวอ่อนระยะ 1-2 เมื่อข้าวอายุ 30 -45 วัน จำนวนมากกว่า 10 ตัวต่อต้น ให้ใช้สารฆ่าแมลง
- บูโฟเฟซิน ( แอปพลอท 10 % ) อัตรา 25 มิลลลิกรัม ต่อน้ำ 20 ลิตรพ่น
- ใช้สาร อีโทเพนพรอกซ์ ( ทรีบอน 10 % ) อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตรพ่น
- บรูโพรเฟซิน/ ไอโซคาร์บ ( แอพลอท / มิพวิน 5 % / 20 % อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
เมื่อพบแมลงส่วนใหญ่เป็นตัวเต็มวัยจำนวนมากกว่า 1 ตัว/ ต้น ในระยะข้าวตั้งท้องถึงออกรวง
- ใช้สารอิมิดาโคลฟริด ( คอรฟิดอร์ 10 % ) อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
4. ไม่ควรใช้สารฆ่าแมลงที่ทำให้เกิดการเพิ่มระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลหรือสารกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ เช่น แอลฟาไซเฟอร์มิทริน ไซแฮโลทริน เดคาเมททริน

สารเคมีที่ใช้ควบคุม
- คาร์แทป + ไอโซโพคาร์บ 5 กก./ ไร่
- อิมิดาโคลพริด 15- 30 ซีซี/ น้ำ 20 ลิตร
- บูโพรเฟซิน +ไอโซโปร์คาร์บ 50 กรัม / น้ำ 20 ลิตร
เชื้อราบิวเวอร์เรีย เชื้อราบิวเวอร์เรีย ( Beauveria bassiasna ) เป็นจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคกับแมลง ซึ่งสามารถทำลายแมลงได้หลายชนิด ในอันดับ Homoptera Lepidoptera Coleoptera และ Diptera ซึ่งได้แก่แมลงจำพวกเพลี้ยต่างๆ หนอนผีเสื้อ ด้วง และแมลงวัน หรือยุง นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าสามารถกำจัดปลวก และมดคันไฟได้ ทำให้มดและปลวกตายยกรังได้
กลไกการเข้าทำลายแมลงของเชื้อราบิวเวอร์เรีย คือ เมื่อสปอร์ของเชื้อราสัมผัสกับผิวของแมลง ในสภาพความชื้นที่เหมาะสม (ความชื้นสัมพัทธ์ 50 % ขึ้นไป) จะงอกเส้นใยแทงผ่านผิวหนังเข้าไปในลำตัวแมลง แล้วขยายจำนวนเจริญอยู่ภายในโดยใช้เนื้อเยื่อของแมลงเป็นอาหาร แมลงจะตายในที่สุด ภายในระยะเวลาต่างๆ ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาด และวัยของแมลง โดยทั่วไปประมาณ 3 - 14 วัน เชื้อราบิวเวอร์เรียสามารถนำมาใช้ในการกำจัดแมลงศัตรูพืชที่สำคัญในพืชเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น แมลงศัตรูพืชเป้าหมายในข้าว ได้แก่ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยไฟ บั่ว หนอนห่อใบ ในมะม่วงได้แก่ เพลี้ยจักจั่นที่ทำลายช่อมะม่วง แมลงค่อมทอง ในพืชตระกูลส้มได้แก่ เพลี้ยอ่อนส้ม เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟ ไรแดง ในพืชผักได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ ไรขาว แมลงหวี่ขาว หนอนผีเสื้อต่างๆ ในอ้อยได้แก่ แมลงค่อมทอง เป็นต้น
การใช้เชื้อราบิวเวอร์เรียควบคุมศัตรูพืช
1. เนื่องจากเชื้อค่อนข้างอ่อนแอต่อแสงแดด และอุณหภูมิสูง จึงควรใช้เชื้อราบิวเวอร์เรียในช่วงเวลาเย็นถึงค่ำ
2. ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีขายตามท้องตลาด ให้ใช้วิธีและอัตราการใช้ที่ระบุไว้ในฉลาก
3. เชื้อราบิวเวอร์เรียชนิดสด ที่รับจากศูนย์บริหารศัตรูพืช หรือที่เกษตรกรผลิตขยายได้เอง ใช้ในอัตราก้อนเชื้อ 1 กิโลกรัม ( 2 ถุง) ต่อน้ำ 25 – 50 ลิตร โดยนำก้อนเชื้อใส่ลงในตาข่ายเขียว แล้วนำไปยี หรือขยี้ในน้ำให้สปอร์เชื้อราหลุดจากเมล็ดข้าวโพดลงไปในน้ำ นำเมล็ดข้าวโพดออกทิ้งไป แล้วนำน้ำที่ได้ไปฉีดพ่น
4. ระหว่างที่ฉีด ให้กวนน้ำเป็นระยะ และควรปรับหัวฉีดให้พ่นฝอยละเอียด จะฉีดได้ผลดีและได้พื้นที่เพิ่มขึ้น
5. เชื้อราบิวเวอร์เรียสามารถทำลายแมลงได้หลายชนิด รวมถึงแมลงศัตรูธรรมชาติบางชนิดด้วย ดังนั้นถ้าหากพบว่ามีศัตรูธรรมชาติอยู่มาก ก็ควรงด หรือชะลอการฉีดออกไป
6. เชื้อราจะเข้าทำลายแมลงได้ในสภาพที่มีความชื้นสูง ดังนั้น การใช้เชื้อราบิวเวอร์เรียในช่วงฤดูแล้ง หรืออากาศแห้งแล้ง อาจจำเป็นต้องเพิ่มความชื้นโดยการให้น้ำ หรือพ่นละอองน้ำ ก่อนและหลังการใช้
การผลิตเชื้อราบิวเวอร์เรีย
เกษตรกรสามรถผลิตเชื้อราบิวเวอร์เรียใช้ได้เอง โดยขอรับหัวเชื้อจากศูนย์บริหารศัตรูพืชจังหวัดสุพรรณบุรี นำมาต่อเชื้อลงในเมล็ดข้าวโพด ซึ่งมีขั้นตอนลัวิธีการดังนี้
1. เตรียมวัสดุเลี้ยงเชื้อ
เชื้อราบิวเวอร์เรียสามารถเจริญเติบโตได้ดีบนเมล็ดธัญพืชทุกชนิด แต่เมล็ดธัญพืชที่ เหมาะสมที่สุดคือ เมล็ดข้าวโพด เพราะมีขนาดใหญ่ ทำให้มีช่องว่างมาก เมล็ดข้าวโพดที่จะนำมาใช้ต้องไม่เป็นเมล็ดที่คลุกสารเคมี หรือสารกำจัดเชื้อรา การเตรียมเมล็ดข้าวโพดสำหรับเลี้ยงเชื้อราบิวเวอร์เรียทำได้โดย นำเมล็ดข้าวโพดมาล้างให้สะอาด แล้ว
• ทำให้เมล็ดอุ้มน้ำด้วยการแช่เมล็ดไว้ 1 คืน (หรือใช้วิธีต้มประมาณ 30 นาที)
• นำมาพึ่งให้หมาดน้ำ (ให้ผิวแห้ง)
• นำมากรอกใส่ถุง (ถุงเพาะเห็ด : ถุงทนความร้อนชนิดขยายข้าง ขนาด 6 ? 12 นิ้ว) ถุงละประมาณ 4 – 5 ขีด (หรือสูงประมาณ 4 นิ้ว ) สวมปากถุงด้วยคอขวด ลึกประมาณ 3 นิ้ว แล้วพับปากถุงลง อุดด้วยสำลี หรือขี้ฝ้าย แล้วหุ้มปากถุงด้วยกระดาษ รัดด้วยยางวง
2. นึ่งฆ่าเชื้อ
เมื่อเตรียมถุงเมล็ดข้าวโพดเสร็จแล้วให้นำไปนึ่ง เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในถุง
• ถ้าใช้หม้อนึ่งความดัน ใช้ความดัน 15 ปอนด์/ตารางนิ้ว อุณหภูมิ 121 องศา เซลเซียส ใช้เวลานึ่ง 30 นาที
• กรณีใช้หม้อนึ่งลูกทุ่ง (ทำจากถังแกลอน) ใช้เวลานึ่งอย่างน้อย 3 ชั่วโมง นับ จากน้ำเดือด หลังจากนึ่งเสร็จแล้วนำมาวางทิ้งไว้รอให้เย็น แล้วแกะกระดาษที่หุ้มปากถุงออก
3. การเขี่ยเชื้อ
อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการเขี่ย เชื้อราบิวเวอร์เรีย ประกอยด้วย ตู้เขี่ยเชื้อ ตะเกียง แอลกอฮอล์ (และแอลกอฮอล์ 95 % สำหรับเติมตะเกียง)
เข็มเขี่ยเชื้อ และแอลกอฮอล์ 70 % สำหรับฆ่าเชื้อ
- เตรียมอุปกรณ์ ด้วยการทำความสะอาดตู้ แล้วเช็ดฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอล์ 70 % (นำแอลกอฮอล์ใส่ฟ๊อกกี้ ฉีดภายในตู้ให้ทั่วแล้วเช็ดด้วยสำลี)
- นำอุปกรณ์ใส่เข้าไปในตู้ ได้แก่ ตะเกียงแอลกอฮอล์ แก้วน้ำที่แช่เข็มเขี่ยเชื้อด้วยแอลกอฮอล์ 70 % หัวเชื้อ โดยเช็ดผิวด้วยแอลกอฮอล์ 70 % ก่อนนำเข้าตู้
- นำถุงเมล็ดข้าวโพดที่นึ่งแล้วใส่เข้าไปในตู้ ด้านซ้ายมือ แล้วปิดตู้
- เริ่มทำการเขี่ยเชื้อโดยสอดมือเข้าไปภายในตู้ (ก่อนสอดมือเข้าไปต้องเช็ดมือและแขนด้วยแอลกอฮอล์ 70 % ทุกครั้ง) จุดตะเกียง ใช้มือขวาจับเข็มเขี่ยด้วยสามนิ้ว (โป้ง ชี้ กลาง) นำมาลนไฟที่ปลายให้แดง แล้วลนมาทางด้ามจับ 2 – 3 ครั้ง
a - ใช้มือซ้ายจับขวดหัวเชื้อ แล้วเปิดจุกสำลีโดยใช้นิ้วก้อยของมือขวา ลนไฟที่ปากขวด 2 – 3 ครั้ง
b – สอดเข็มเขี่ยเชื้อเข้าไปตัดวุ้นในขวด ชิ้นละประมาณ ? ตารางเซนติเมตร แล้วจิ้มออกมาจากขวด
c – ลนปากขวดอีก 2 – 3 ครั้งก่อนปิดสำลีเข้าที่เดิม
d – มือซ้ายวางขวดหัวเชื้อแล้วหยิบถุงเมล็ดข้าวโพกมาเปิดจุกสำลีด้วยนิ้วก้อยของมือขวา ลนปากถุงเล็กน้อย แล้วใส่หัวเชื้อที่ติดปลายเข็มเข้าไปในถุง
e – ลนปากถุงเล็กน้อยก่อนปิดปากถุง แล้วเขย่าถุงเบาๆ นำถุงที่ใส่เชื้อแล้วมาวางด้านขวามือ
- ถุงต่อไป ลนเข็มเขี่ย 2 – 3 ครั้ง แล้วทำตามขั้นตอน a – e จนกระทั่งใส่หัวเชื้อหมดทุกถุงในตู้ แล้วนำเข็มแช่ในแก้วแอลกอฮอล์ ดับตะเกียง แล้วนำถุงเมล็ดข้าวโพดที่ใส่หัวเชื้อแล้วออกจากตู้
4. การบ่มเชื้อ
นำถุงเมล็ดข้าวโพดที่ใส่เชื้อแล้ว ไปวางไว้ในสภาพอากาศปกติ อากาศถ่ายเทได้ มีแสงสว่างปกติ แต่ไม่ให้ถูกแสงแดดโดยตรง เชื้อจะเจริญเติบโตจนเต็มเมล็ดข้าวโพด ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ เมื่อเชื้อเดินเต็มแล้วก็นำไปใช้ได้
การเก็บรักษาเมื่อเชื้อเดินเต็มแล้ว ควรเก็บไว้ในที่แห้งและเย็น จะทำให้เก็บไว้ได้นานขึ้น

2. เชื้อราไตรโคเดอร์มา
( Trichoderma sp. )

3. เชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราปฏิปักษ์ของเชื้อราโรคพืช โดยเชื้อราไตรโคเดอร์มาจะไปลดกิจกรรมการดำเนินชีวิตของเชื้อราโรคพืช เช่น ยับยั้งการเจริญเติบโต ยับยั้งการขยายพันธุ์ ด้วยกลไกสามประการ คือ
1. การทำลายโดยตรง โดยการกินเชื้อราโรคพืชเป็นอาหาร
2. การแก่งแย่งที่อยู่อาศัย และสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต
3. การสร้างสารปฏิชีวนะที่เป็นอันตรายต่อเชื้อโรคชนิดอื่น
นอกจากนี้ เชื้อราไตรโคเดอร์มายังมาช่วยกระตุ้นให้พืชสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคพืช กระตุ้นให้รากพืชเจริญเติบโตดีขึ้น ทำให้รากยาวและแข็งแรง และเมื่ออยู่ในดินจะสร้างสารที่ไปละลายธาตุอาหารในเม็ดหินและดินให้ละลายออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืช
เชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่ในดินทั่วไป มีหลายชนิด หลายสายพันธุ์ ที่ผ่านมาได้มีการศึกษาและคัดเลือกสายพันธุ์ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการควบคุมโรคพืช โดยมุ่งเน้นไปที่เชื้อราโรคพืชที่เกิดจากดิน พบว่าสามารถควบคุมเชื้อราโรคพืชได้ดีหลายชนิด เช่น เชื้อไฟทอปธอร่า, พิเที่ยม, ฟิวซาเรี่ยม, สเครอโรเที่ยม, ไรซ็อคโทเนี่ย เป็นต้น ซึ่งเชื้อราเหล่านี้เป็นสาเหตุของโรคพืชต่างๆ ได้แก่ โรครากเน่าโคนเน่า โรคผลเน่า โรคกล้าเน่าหรือกล้ายุบ โรคเน่าระดับดิน โรคเหี่ยวในพืชตระกูลพริก โรคถอดฝักดาบของข้าว เป็นต้น ปัจจุบันพบว่า นอกจากจะเป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อราโรคพืชที่อยู่ในดินแล้ว ยังสามารถใช้ในการป้องกันกำจัดเชื้อราโรคพืชในส่วนต่างๆของพืชที่อยู่เหนือดินได้ดีเช่นกัน เช่น โรคไหม้ในข้าว โรคแอนแทรกโนสในพริก เป็นต้น และมีแนวโน้มที่จะมีผลไปกระตุ้นให้พืชมีความต้านทานต่อเชื้อไวรัสโรคพืชได้อีกด้วย จึงนับว่าเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเกษตร
การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มามาควบคุมโรคพืช
การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควรใช้ในช่วงเวลาที่แดดอ่อน เหมือนกับชีวภัณฑ์ชนิดอื่นๆ สามารถนำมาใช้ทั้งในด้านป้องกันและรักษาโรค โดยมีวิธีการใช้ 3 วิธี
1. ใช้คลุกเมล็ดพืช หรือส่วนขยายพันธุ์ของพืชที่จะนำไปปลูก เช่น หัว แง่ง เหง้า กลีบ ฯลฯ โดยใช้เชื้อราไตรโตเดอร์มาชนิดเชื้อสดที่เจริญอยู่บนเมล็ดข้าวฟ่าง หรือข้าวเปลือกในอัตรา 1 ช้อนโต๊ะ
ต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม
2. ใส่เชื้อลงในดิน โดยการผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มา กับรำละเอียด และปุ๋ยหมักที่ย่อยสลายแล้วในอัตรา เชื้อสด 1 กก. (2 ถุง) รำ 5 กก. และปุ๋ยหมัก 50 กก. นำเชื้อคลุกเคล้ากับรำให้เข้ากันดีก่อน แล้วจึงผสมกับปุ๋ยหมัก หากปุ๋ยหมักแห้งเกินไปให้พรมน้ำให้มีความชื้นพอประมาณ หลังจากผสมแล้วใช้ให้หมดภายใน 1 วัน สามารถใช้ได้กับพืชทุกระยะการเจริญเติบโต ดังนี้
- ใช้ผสมดินเพาะกล้า อัตรา ส่วนผสม 1 ส่วน/ดินเพาะกล้า 4 ส่วน
- ใช้หว่านลงในแปลงก่อนหรือหลังปลูก (พืชไร่ พืชผัก) ใช้ส่วนผสม 200 กรัม ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร
- ใช้รองก้นหลุม (ไม้ผล หรือพืชที่ปลูกเป็นหลุม) ใช้ส่วนผสม 300 – 500 กรัมต่อหลุม
- หว่านรอบโคนต้นและภายในทรงพุ่ม (ไม้ผล) 300 – 500 กรัมต่อตารางเมตร หรือ นับอายุไม้ผล คือ อายุ 1 – 5 ปี ใช้ 1 – 5 กก./ต้น อายุเกิน 5 ปี ใช้ 5 กก./ต้น
หลังจากหว่านแล้วใช้วัสดุคลุมดิน (เช่น ฟางข้าว) หากไม่มีให้คราดหรือเกลี่ยดินกลบบางๆ เพื่อป้องกันแสงแดด หลังจากนั้นรดน้ำให้พอชุ่ม
3.วิธีผสมน้ำ ได้แก่การนำเชื้อสดไปยีในน้ำเพื่อให้สปอร์ของเชื้อราหลุดจากเมล็ดลงไปใน ในน้ำ กรองเอาเมล็ดออก แล้วนำน้ำที่ได้ไปใช้ อัตราการใช้ เชื้อสด 1 กก. (2 ถุง)
ต่อน้ำ 100 – 200 ลิตร นำน้ำที่ได้จากการยีล้างสปอร์ไปใช้ดังนี้
- ฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช เพื่อป้องกันกำจัดโรคพืช (ที่เกิดจากเชื้อรา) ที่อยู่บนใบ ต้น กิ่ง หรือผล
- ใส่บัวรดน้ำรดไปที่ดิน ใช้กับโรครากเน่าโคนเน่า
- ปล่อยไปกับระบบน้ำหยด หรือสปริงเกอร์
4. วิธีการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์มา
มีวิธีการผลิตจำแนกได้ 2 วิธีใหญ่ ๆ คือ ผลิตโดยไม่นึ่งวัสดุเลี้ยงเชื้อ และผลิตโดยการนึ่งวัสดุเลี้ยงเชื้อ ซึ่งมีวิธีการดังนี้
1. การผลิตอย่างง่ายโดยไม่ต้องนึ่งวัสดุเลี้ยงเชื้อ วิธีนี้ได้แก่ การใช้ปลายข้าว หรือข้าวสารมาเป็นวัสดุเลี้ยงเชื้อ เป็นวิธีที่ง่าย เหมาะสำหรับการทำเชื้อใช้เองในระดับครัวเรือน แต่ไม่เหมาะที่จะทำในปริมาณมากๆ วิธีการคือ
1) หุงข้าว หรือปลายข้าวด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้า ในอัตรา ข้าว 3 ส่วนต่อน้ำ 2 ส่วน (สำหรับข้าวแข็ง) หรือ ข้าว 5 ส่วนต่อน้ำ 3 ส่วน (สำหรับข้าวใหม่ หรือข้าวอ่อน) ซึ่งเมื่อหุงออกมาแล้วจะได้ข้าวในลักษณะกึ่งสุกกึ่งดิบ
2) เมื่อหม้อหุงข้าวดีดให้ตักใส่ถุงขณะที่ยังร้อน โดยใช้ถุงทนร้อนขนาด ประมาณ 8 ? 11 นิ้ว ใส่ถุงละประมาณ 250 กรัม (ประมาณ 3 ทัพพี) แล้วพับปากถุงทิ้งไว้ให้เย็น
3) เมื่อข้าวเย็น (เหลือความอุ่นเล็กน้อย) นำมาใส่หัวเชื้อไตรโคเดอร์มา ถุงละ 2 – 3 กรัม (หรือประมาณเท่าเมล็ดข้าวโพด 1 เมล็ด) ต่อถุง แล้วเย็บปากถุงด้วยลวดเย็บกระดาษ หรือใช้ยางวงรัดปากถุงให้แน่น จากนั้นขยำหัวเชื้อคลุกกับข้าว แล้วใช้เข็มแทงถุงเพื่อระบายอากาศ 30 – 40 รู การใส่หัวเชื้อควรทำในที่ที่ไม่มีลม เช่นในห้องที่ปิดมิดชิด
4) นำ ถุงข้าวที่ใส่เชื้อแล้วไปวางในที่ร่ม รอให้เชื้อเดน การวางถุงให้วางราบกับพื้นและเกลี่ยข้าวให้แบนบางๆ พร้อมกับโหย่งถุงด้านบนขึ้น เพื่อให้อากาศไหลเวียนได้ทั่วถุง วางทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน เชื้อจะเดินเต็มถุง กำนำไปใช้ได้
2. การผลิตโดยการนึ่งวัสดุเลี้ยงเชื้อ ใช้วิธีการเตรียมวัสดุเช่นเดียวกับการผลิตเชื้อราบิวเวอร์เรีย วิธีนี้เหมาะสำหรับการผลิตในปริมาณมาก เช่น รวมกลุ่มช่วยกันผลิต หรือการผลิตเพื่อจำหน่าย ซึ่งจะมีความสม่ำเสมอมากกว่าวิธีแรก และเก็บรักษาได้นานกว่า มีขั้นตอน และวิธีการดังนี้
5. 1. เตรียมวัสดุเลี้ยงเชื้อ
เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถเจริญได้บนเมล็ดธัญพืชทุกชนิดเช่นเดียวกัน แต่ขนาดเมล็ดที่เหมาะสมที่จะทำให้ได้สปอร์มาก คือ ขนาดปานกลาง เช่น เมล็ดข้าวฟ่าง หรือเมล็ดข้าวเปลือก โดยเมล็ดที่นำมาใช้ต้องไม่เป็นเมล็ดที่คลุกสารเคมี หรือสารกำจัดเชื้อรา การเตรียมเมล็ดข้าวฟ่าง หรือข้าวเปลือกสำหรับเลี้ยงเชื้อราไตรโคเดอร์มาทำเหมือนกับการเตรียมเมล็ดข้าวโพดเพื่อเลี้ยงเชื้อราบิวเวอร์เรีย คือ นำเมล็ดข้าวเปลือก หรือข้าวฟ่างมาล้างให้สะอาด
• ทำให้เมล็ดอุ้มน้ำด้วยการแช่เมล็ดไว้ 1 คืน (หรือใช้วิธีต้มประมาณ 30 นาที)
• นำมาพึ่งให้หมาดน้ำ (ให้ผิวแห้ง)
• นำมากรอกใส่ถุง (ถุงเพาะเห็ด : ถุงทนความร้อนชนิดขยายข้าง ขนาด 6 ? 12 นิ้ว) ถุงละประมาณ 4 – 5 ขีด (หรือสูงประมาณ 4 นิ้ว ) สวมปากถุงด้วยคอขวด ลึกประมาณ 3 นิ้ว แล้วพับปากถุงลง อุดด้วยสำลี หรือขี้ฝ้าย แล้วหุ้มปากถุงด้วยกระดาษ รัดด้วยยางวง
6. 2. นึ่งฆ่าเชื้อ
เมื่อเตรียมถุงเมล็ดข้าวโพดเสร็จแล้วให้นำไปนึ่ง เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในถุง
• ถ้าใช้หม้อนึ่งความดัน ใช้ความดัน 15 ปอนด์/ตารางนิ้ว อุณหภูมิ 121 องศา เซลเซียส ใช้เวลานึ่ง 30 นาที
• กรณีใช้หม้อนึ่งลูกทุ่ง (ทำจากถังแกลอน) ใช้เวลานึ่งอย่างน้อย 3 ชั่วโมง นับ จากน้ำเดือด หลังจากนึ่งเสร็จแล้วนำมาวางทิ้งไว้รอให้เย็น แล้วแกะกระดาษที่หุ้มปากถุงออก
7. 3. การเขี่ยเชื้อ
การเขี่ยเชื้อไตรโคเดอร์มา ไม่จำเป็นต้องทำในตู้เขี่ยเชื้อ แต่ควรทำในที่ที่ลมสงบ และก่อนที่จะเขี่ยเชื้อให้ทำความสะอาด และฆ่าเชื้อที่พื้นโต๊ะด้วยแอลกอฮอล์ 70 % ที่มือและช้อนก็เช็ดแอลกอฮอล์ด้วยเช่นเดียวกัน การเขี่ยเชื้อทำโดยใช้ช้อนตักหัวเชื้อใส่ลงในถุงข้าวเปลือก หรือข้าวฟ่างที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้ว ถุงละ 2 – 3 กรัม ปิดจุกสำลีไว้เหมือนเดิม และเขย่าถุงเล็กน้อย
8. 4. การบ่มเชื้อ
9. นำถุงข้าวเปลือก หรือข้าวฟ่างที่ใส่เชื้อแล้ว ไปวางในที่ร่มอุณหภูมิปกติประมาณ 7 วัน เชื้อจะเดินเต็มถุงพร้อมที่จะนำไปใช้ได้ การเก็บรักษาหลังจากที่เชื้อเดินเต็มแล้ว ควรเก็บไว้ในที่แหงและเย็นจะเก็บได้นานขึ้น

วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554

โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจ
1. หลักการ
เป็นมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และข้าวเปลือก ที่ไม่บิดเบือนกลไกตลาดและช่วยลดภาระงบประมาณของรัฐบาล โดยในระยะแรกจะเป็นทางเลือกใหม่ให้กับเกษตรกรนอกจากการรับจำนำและในระยะ ยาวจะเป็นระบบแทนที่การรับจำนำ

2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อช่วยเหลือให้เกษตรกรได้รับราคามันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และข้าวเปลือกที่สูงขึ้น
2. เพื่อเป็นการใช้กลไกตลาดในการสร้างเสถียรภาพราคาในระยะยาวและมีความยั่งยืน
3. เพื่อลดภาระงบประมาณค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการช่วยเหลือเกษตรกร

3. การกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิง
คณะอนุกรรมการกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงพืชเศรษฐกิจทั้ง 3 ชนิด ทำหน้าที่กำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาจ่ายอัตราชด เชยรายได้ให้เกษตรกร แล้วนำเสนอประธานกรรมการนโยบายมันสำปะหลัง ประธานกรรมการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และประธาน กขช. พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนประกาศเกณฑ์กลางอ้างอิง โดยประกาศทุกวันที่ 1 และ วันที่ 16 ของเดือน

4. ระยะเวลาดำเนินการ
1. การขึ้นทะเบียนผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และการจัดประชุมประชาคม เพื่อรับรองการผลิตของเกษตรกร โดยคณะกรรมการตรวจสอบระดับตำบล เดือน กรกฎาคม – กันยายน 2552 ข้าวนาปีขยายเวลาถึง เดือน ตุลาคม 2552
2. การทำสัญญาประกันราคา ตั้งแต่เดือนสิงหาคม - พฤศจิกายน 2552 โดย ธ.ก.ส. ทำสัญญาประกันราคากับเกษตรกรที่สมัครเข้าร่วมโครงการ

5. เกษตรกรผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการ
1. เป็นเกษตรกรผู้ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกมันสำปะหลัง ปี 2552/53 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2552/53 หรือข้าวเปลือก ปี 2552/53 กับกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (มีรายชื่อในระบบโปรแกรมของ ธ.ก.ส.)
2. เป็นเกษตรกรที่มีหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนการปลูกมันสำปะหลัง ปี 2552/53 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2552/53 หรือข้าวเปลือก ปี 2552/53 ที่ออกโดยกรมส่งเสริมการเกษตร
3. เข้าร่วมโครงการได้ครัวเรือนละ 1 รายเว้นแต่แยกการทำกินสามารถเข้าร่วมได้มากกว่า 1 ราย
4. เกษตรกรทั่วไปขอเข้าโครงการได้ตามภูมิลำเนา (สำเนาทะเบียนบ้าน) ณ ธ.ก.ส. สาขาที่ตั้งภูมิลำเนา
5. ลูกค้า ธ.ก.ส. ขอเข้าโครงการได้ ณ ธ.ก.ส. สาขาที่ลูกค้าสังกัด

6. การจัดทำสัญญาและระยะเวลาใช้สิทธิประกัน

สินค้าเกษตร ระยะเวลาใช้สิทธิประกัน
มันสำปะหลัง
เกษตรกรใช้สิทธิการประกันได้นับถัดจากวันทำสัญญา 45 วัน แต่ไม่เกิน 6 เดือน แต่ต้องไม่เกิน 31 พฤษภาคม 2553
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
เกษตรกรใช้สิทธิการประกันได้หลังจากวันทำสัญญา 15 วัน แต่ไม่เกิน 3 เดือนนับถัดจากวันทำสัญญา แต่ต้องไม่เกินวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553
ข้าวเปลือก
เกษตรกรสามารถใช้สิทธิการประกันได้ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2552 แต่ต้องไม่เกินวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553

ผลดีของการใช้นโยบายการประกันรายได้เกษตรกร
1. เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับส่วนต่างระหว่างเกณฑ์กลางอ้างอิงกับราคา ประกันเป็นเงินโดยตรงจากรัฐ กรณีราคาตลาดต่ำกว่าราคาประกัน ช่วยให้เกษตรกรไม่ขาดทุนจากการขายผลผลิต
2. การจดทะเบียนเกษตรกรและพื้นที่เพาะปลูกเพื่อทำประกันราคาจะช่วยลดปัญหาการสวมสิทธิ์จากการผลผลิตของประเทศเพื่อนบ้าน
3. ไม่เป็นภาระกับการจัดสรรงบประมาณของรัฐบาล เนื่องจากรัฐบาลจะจ่ายส่วนต่างระหว่าง ราคาตลาดอ้างอิงกับราคาประกันให้กับเกษตรกรเท่านั้น รัฐบาลไม่ต้องรับภาระเกี่ยวกับการแปรสภาพและการจัดเก็บผลผลิตในสต็อกของ รัฐบาล
4. ลดปัญหาการทุจริต และการแสวงหาประโยชน์จากการรับจำนำของผู้ที่เกี่ยวข้องในขั้นตอนต่างๆ คงเหลือเพียงระดับเกษตรกร และเจ้าหน้าที่จดทะเบียน
5. กลไกการค้าผลิตผลเข้าสู้ภาวะปกติ กลับมามีการแข่งขัน รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ไม่ต้องเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการค้า

ผลกระทบที่เกิดจากการประกันราคา
1. มีโอกาสเกิดการทุจริตในขั้นตอนการขึ้นทะเบียนเกษตรกร การรับรองพื้นที่ และปริมาณผลผลิต
2. หากกำหนดราคาประกันสูง จะทำให้เกิดแรงจูงใจแก่เกษตรกรเพิ่มเนื้อที่การผลิต
3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเพิ่มบุคลากรจำนวนมากมาสนับสนุนการดำเนินงานเพราะคาดว่าจะมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการเกือบทั้งหมด
4. หากราคาผลผลิตตกต่ำมากจะเป็นภาระของรัฐบาลในการจัดหาเงินทุนมาชดเชยแก่ เกษตรกร โดยเฉพาะการร่วมมือกันกดดันราคาของผู้ค้าผลิตผลทางการเกษตร
5. หากเกษตรกรขายผลผลิตได้ต่ำกว่าราคาตลาดอ้างอิงมาก อาจชุมนุมเรียกร้องกดดันให้รัฐบาลช่วยเหลือ
6. ผู้ที่เคยไ
เกณฑ์กลางอ้างอิง
โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวเปลือก รอบที่ 1 ปี 2553/54
และรอบที่ 2 ปี 2552/53
ประจำวันที่ 29 พฤศจิกายน - 5 ธันวาคม 2553
ชนิด ราคา อัตราชดเชย
ข้าวเปลือก รอบที่ 1 (ปี53/54) รอบที่ 2 (
ปี52/53) รอบที่ 1
(ปี 53/54) รอบที่ 2
(ปี 52/53)
-หอมมะลิ 13,696 - 1,604 -
-หอมจังหวัด 13,353 - 947 -
-เจ้า 8,936 8,936 1,064 1,064
-ปทุมธานี 11,630 11,630 ไม่ชดเชย ไม่ชดเชย
-เหนียว 16,126 16,126 ไม่ชดเชย ไม่ชดเชย
กรณีที่ราคาข้าวเปลือกต่ำกว่าราคาประกัน รัฐบาลได้จัดให้ อคส.และ อ.ต.ก.ตั้งโต๊ะรับซื้อในโรงสีที่เข้าร่วมโครงการ โดยรับซื้อในราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงข้างต้น สำหรับในส่วนของข้าวเจ้า 10% รับซื้อในราคาตันละ 8,736 บาท และข้าวเจ้า 25% รับซื้อในราคาตันละ 8,336 บาท ปัจจุบัน (12 พ.ย.53) มีโรงสีเข้าร่วมโครงการ 153 โรง ใน 35 จังหวัด ที่เปิดรับซื้อแล้ว
โครงการประกันรายได้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2553/54
ประจำวันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2553
ชนิด ราคา อัตราชดเชย
ข้าวโพดเมล็ด
ความชื้นไม่เกิน 14.5% 8.21 ไม่ชดเชย

โครงการประกันรายได้มันสำปะหลัง ปี 2553/54
ประจำวันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2553
ชนิด ราคา อัตราชดเชย
หัวมันสด เชื้อแป้ง 25% 2.68 ไม่ชดเชย

ด้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมโครงการรับจำนำ ไม่สนับสนุนการดำเนินงาน

ความเป็นมา
ในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมาก ราคาผลิตผลจะตกต่ำเนื่องจากปริมาณผลผลิตมีจำนวนมากแต่ความต้องการของผู้ซื้ออยู่ในระดับปกติ โครงการรับจำนำผลิตผลการเกษตรเป็นมาตรการที่รัฐบาลเกือบทุกรัฐบาลนำมาใช้แก้ไขปัญหาราคาผลิตผลตกต่ำ ผลจากการดำเนินโครงการทำให้รัฐบาลมีภาระชดเชยผลการขาดทุนและค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาผลิตผลจำนำจำนวนมาก หากปีใดภาวะราคาผลิตผลไม่ดีปริมาณรับจำนำจะมีมาก รัฐบาลจะต้องเพิ่มงบประมาณในส่วนนี้เพิ่มขึ้น
คณะกรรมการ ธ.ก.ส. และผู้บริหาร ธ.ก.ส. ได้จัดประชุมสัมมนาเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2552 และมีข้อเสนอแนะให้ปรับเปลี่ยนวิธีการช่วยเหลือเกษตรกร โดยเห็นควรนำเสนอแนวทางประกันราคาข้าวเปลือกหอมมะลิในพื้นที่ 8 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อเป็นต้นแบบนำร่องในการขยายโครงการไปสู่พืชผลประเภทอื่น ๆ แทนการรับจำนำ และได้เสนอต่อคณะอนุกรรมการพิจารณาแนวทางการประกันราคาและประกันข้าวเปลือกที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน (คณะอนุกรรมการฯ) ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ ได้เห็นชอบและได้นำเสนอคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) กขช. ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2552 มีมติเห็นชอบตามที่คณะอนุกรรมการฯ เสนอ
คณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2552 ได้ให้ความเห็นชอบในการดำเนินโครงการและต่อมาคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2552 เห็นชอบให้ดำเนินโครงการประกันราคาข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 25582/53 โดยให้ดำเนินการรับประกันราคาข้าวเปลือกทุกชนิด ยกเว้นข้าวพันธุ์ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวต่ำกว่า 100 วัน และเป็นพันธุ์ที่ไม่ผ่านการรับรองของทางราชการ โดยดำเนินการในพื้นที่จังหวัดแหล่งเพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์
1.1 เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาให้เกษตรกรไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน
1.2 เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคาผลิตผลตกต่ำ
1.3 เพื่อให้กลไกตลาดทำงานเป็นปกติผู้ประกอบการค้าข้าวแข่งขันทางการตลาดให้





2. หลักเกณฑ์
2.1 เกษตรกรที่ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการต้องขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวกับกรมส่งเสริมการเกษตร ที่ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำตำบลหรือสำนักงานเกษตรอำเภอ และต้องผ่านการรับรองพื้นที่การผลิตโดยประชาคม เมื่อผ่านการประชาคมแล้วสำนักงานเกษตรอำเภอจะออกใบรับรองผลการขึ้นทะเบียนให้เกษตรกรเพื่อนำมาทำสัญญาประกันรายได้กับ ธ.ก.ส.
2.2 ธ.ก.ส. จัดทำสัญญาประกันรายได้ตามข้อมูลที่ผ่านการรับรอง
2.3 การกำหนดราคาประกันและปริมาณผลผลิตที่เข้าร่วมโครงการ
(1) การกำหนดราคาประกัน รัฐบาลกำหนดราคาประกันโดยพิจารณาจากต้นทุนการผลิตข้าวเปลือกแต่ละชนิด บวกด้วยค่าขนส่งเฉลี่ยจากไร่นาถึงจุดรับซื้อและ บวกกำไรให้แก่เกษตรกรตั้งแต่ร้อยละ 20 – 40 (ของต้นทุนการผลิต + ค่าขนส่งเฉลี่ย)
(2) การกำหนดปริมาณผลผลิตเข้าร่วมโครงการ
ใช้พื้นที่ถือครองถั่วเฉลี่ยของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวแต่ละชนิด คูณด้วยปริมาณผลผลิตเฉลี่ยของข้าวเปลือกแต่ละชนิด ดังนี้
(2.1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ไม่เกินร้อยละ 16 ตัน
(2.2) ข้าวเปลือกหอมจังหวัด ไม่เกินร้อยละ 16 ตัน
(2.3) ข้าวเปลือกเจ้า ไม่เกินร้อยละ 25 ตัน
(2.4) ข้าวเปลือกปทุมธานี ไม่เกินรายละ 25 ตัน
(2.5) ข้าวเปลือกเหนียว ไม่เกินรายละ 14 ตัน
2.4 การชดเชยส่วนต่างระหว่างราคาประกันกับเกณฑ์กลางอ้างอิงคณะอนุกรรมการกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงจะเป็นผู้กำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิง เพื่อใช้คำนวณส่วนต่างระหว่างราคาประกันกับเกณฑ์กลางอ้างอิง ซึ่งจะประกาศทุกวันที่ 1 และ 16 ของเดือน วันใช้สิทธิของเกษตรกรที่ระบุในสัญญาตรงกับช่วงใด หากมีส่วนต่าง ธ.ก.ส. จะโอนเข้าบัญชีเงินฝากของเกษตรกร

3. ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง (บาท/ตัน) ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง
ราคาประกัน 1 – 15 พ.ย. 16 – 30 พ.ย. 1 – 15 ธ.ค.
3.1 ข้าวเปลือกหอมมะลิ 15,300 14,840 13,002 13,720
3.2 ข้าวเปลือกหอมจังหวัด 14,300 13,729 12,620 13,388
3.3 ข้าวเปลือกเจ้า 10,000 8,389 8,914 9,242
3.4 ข้าวเปลือกปทุมธานี 10,000 9,175 10,501 10,565
3.5 ข้าวเปลือกเหนียว 9,500 7,680 8,473 9,591






4. ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 8 ธันวาคม 2552
เกษตรกรผู้ผ่านการประชาคมจำนวน 4,049,816 ราย
จัดทำสัญญากับ ธ.ก.ส. แล้ว 3,443,861 ราย
จ่ายเงินชดเชยส่วนต่างให้เกษตรกรแล้ว 779,992 ราย
เงินชดเชยจำนวน 10,188,038,307 บาท

2

________________________________________
[1] เอกสารประกอบการประชุมเวทีข้าวไทย 2552 เรื่อง “วิกฤตข้าวไทย : ใครจะแก้” วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม 2552 ณ ห้องประชุมสุธรรมอารีกุล อาคารสารสนเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพมหานคร
[2] รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร


เกษตรกรผู้ปลูกข้าวส่วนใหญ่ (86.2 %) เข้าร่วมโครงการประกันรายได้ และพึงพอใจต่อโครงการประกันรายได้ฯระดับปานกลาง – มาก (77%) แต่ประสบปัญหาการเข้าโครงการ คือ การได้รับเงินชดเชยล่าช้าและการประชาสัมพันธ์ไม่ชัดเจน
เกษตรกร ถือว่าเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความสำคัญต่อภาคการผลิตของประเทศไทย เพราะผลผลิตทางการเกษตรนั้นสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศปีละมหาศาล ดังนั้นทางรัฐบาลจึงได้ให้ความสำคัญกับการเกษตรที่เป็นอาชีพของคนส่วนใหญ่ในประเทศ โดยได้เริ่มโครงการการประกันรายได้เกษตรกรที่ครอบคลุมพืชสำคัญทางเศรษฐกิจ 3 ชนิด ที่ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 52 ถึง กุมภาพันธ์ 53 โดยมีข้าวเป็นหนึ่งในพืชที่มีการประกันรายได้ ดังนั้น ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตรโดยแม่โจ้โพลล์ จึงสำรวจความคิดเห็น ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เพื่อจะได้ทราบถึงผลการดำเนินงานของโครงการฯ ดังกล่าวว่าจะ สามารถช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวและ ทำให้มีเกษตรกรรายย่อยมีรายได้จากการขายข้าวเพิ่มขึ้น โดยสำรวจจากเกษตรกร จำนวน 956 ราย ( ภาคเหนือ 33.6 % ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 34.2 % ภาคกลาง 24.3 % ภาคใต้ 7.9 %) ในวันที่ 1 - 8 เม.ย. 53 สรุปผลได้ดังนี้
1. การเคยเข้าร่วมโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ครั้งที่ 1 (2552/53)
ก. เคย 86.2 % เพราะเห็นว่าเป็นโครงการที่ดี ที่สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องราคาข้าวตกต่ำได้และเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้สูงขึ้น
ข.ไม่เคย 13.8 % เพราะไม่ทราบข้อมูลของโครงการและมีพื้นที่เพาะปลูกไม่มากจึงไม่ได้ไปลงทะเบียน
2. ความพึงพอใจต่อโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่เข้าร่วมโครงการฯ ในปีที่ผ่านมา
ก. พอใจมาก 30.5%
ข. พอใจปานกลาง 46.5%
ค.พอใจน้อย 23.0 %
3. ความพึงพอใจต่อรายได้ที่ได้รับของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯในปีที่ผ่านมา
ก.รายได้สูงขึ้น 45.0%
ข.รายได้เท่าเดิม 34.7%
ค.รายได้น้อยลง 20.3%
4. ท่านประสบปัญหาจากการเข้าร่วมโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ครั้งที่ 1(2552/53) หรือไม่
ก. ประสบ 55.2%
ข. ไม่ประสบ 44.8%
5. ปัญหาที่เกษตรกรประสบจากการเข้าร่วมโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ครั้งที่ 1 (2552/53)
ก.ขั้นตอนการดำเนินโครงการ เช่น การประชาสัมพันธ์ การดำเนินโครงการและการได้รับเงินชดเชยล่าช้า 53.2 %
ข.ราคาที่ขายได้จริงในท้องตลาดต่ำกว่าราคาอ้างอิงที่ทางรัฐบาลประกาศไว้ 20.0%
ค.ระเบียบ หลักเกณฑ์วิธีการการเข้าร่วมโครงการ เช่น เกษตรกรผู้เช่าที่ดินไม่มีหลักฐานการเช่าที่ดินและปริมาณข้าวที่รับประกันต่อครัวเรือนที่กำหนดให้น้อยเกินไป 7.1%
ง. ไม่มีความเห็น 19.7%

ที่มา:ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2552/53 (รอบที่ 2)

หลักการ
จากการที่รัฐบาลได้นำมาตรการรับจำนำผลิตผลมาใช้ในการแก้ไขปัญหาราคาผลิตผลตกต่ำ โดยการกำหนดราคารับจำนำสูงกว่าราคาตลาดจำนวนมาก ส่งผลให้กลไกตลาดไม่สามารถทำงานได้เป็นปกติ รัฐบาลต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ทั้งค่าแปรสภาพ ค่าเก็บรักษา ค่าตรวจคุณภาพและระบายสินค้าประกอบกับมีสินค้าจำนำเก็บไว้เป็นระยะเวลานาน ทำให้เสื่อมคุณภาพและต้องขายขาดทุนก่อให้เกิดภาระทางการคลังเป็นจำนวนมาก การประกันรายได้เกษตรกรเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาความเสี่ยงด้านรายได้ที่จะช่วยให้เกษตรกรมีความมั่นใจสามารถวางแผนตัดสินใจลงทุนผลิตสินค้าเกษตรได้โดยไม่ต้องกังวลว่า เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วจะประสบปัญหารายได้ต่ำจนต้องขาดทุน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านรายได้ให้แก่เกษตรกรเมื่อปลูกข้าวแล้วไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน
2. เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการแก้ปัญหาราคาผลิตผลตกต่ำ
3. เพื่อให้กลไกตลาดทำงานเป็นปกติ ผู้ประกอบการสามารถแข่งขันทางการค้าได้
หลักเกณฑ์โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2552/53 (รอบที่ 2)
1. เป้าหมายดำเนินการ
ดำเนินการในจังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตข้าวเปลือก ปีการผลิต 2552/53 (รอบที่ 2) ในภาคเหนือ กลาง ตะวันออก ตะวันตก ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส สำหรับจังหวัดอื่น ๆ ที่ตั้งอยู่ในภาคใต้ให้ร่วมอยู่ในภาคอื่น โดยมีจำนวนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการประมาณ 483,000 ราย และปริมาณผลผลิตข้าวเปลือกประมาณ 8.4 ล้านตัน สำหรับข้าวเปลือกเจ้าที่มีระยะเวลาเก็บเกี่ยวน้อยกว่า 100 วัน ที่ทางราชการไม่รับรอง ไม่อนุญาตให้เข้าร่วมโครงการ
2. ระยะเวลาดำเนินการ
2.1 การขึ้นทะเบียน การประชาคมและการออกหนังสือรับรองเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2552/53 (รอบที่ 2) โดยกรมส่งเสริมการเกษตรระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2553 และภาคใต้ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2553 ถึงวันที่ 20 สิงหาคม 2553
2.2 การทำสัญญาประกันรายได้เกษตรกร โดย ธ.ก.ส. ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2553 ถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2553 และภาคใต้ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2553 ถึงวันที่ 30 สิงหาคม 2553
3. การกำหนดราคาประกันและปริมาณประกันขั้นสูง จำแนกตามประเภทข้าวเปลือก ดังนี้
3.1 ข้าวเปลือกปทุมธานี 1 11,000 บาท/ตัน ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน
3.2 ข้าวเปลือกเจ้านาปี 10,000 บาท/ตัน ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน
3.3 ข้าวเปลือกเหนียว 9,500 บาท/ตัน ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน

4. ปริมาณข้าวเปลือกที่เกษตรกรแต่ละครัวเรือนสามารถใช้สิทธิทำสัญญาประกันรายได้
กำหนดโดยวิธีคำนวณจากเนื้อที่การผลิตของเกษตรกร (หน่วยเป็นไร่) ตามใบรับรองผลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว (ทพศ. 1/3) (ใบรับรอง ฯ) คูณด้วยอัตราผลเฉลี่ยต่อไร่รายจังหวัดตามประเภทข้าวที่รัฐบาลเป็นผู้กำหนด ซึ่งต้องไม่เกินปริมาณประกันขั้นสูงที่กำหนดไว้
กรณีเกษตรกรทำการผลิตข้าวเปลือกมากกว่า 1 ประเภท สามารถเข้าร่วมโครงการได้ไม่เกินปริมาณประกันขั้นสูงของข้าวเปลือกประเภทที่เกษตรกรนำมาเข้าร่วมโครงการ และต้องไม่เกินปริมาณประกันขั้นสูงของแต่ละประเภท เช่น เกษตรกรปลูกข้าวปทุมธานี 1 และข้าวเปลือกเหนียว เกษตรกรรายนี้เข้าร่วมโครงการรวมแล้วได้ไม่เกิน 25 ตัน ทั้งนี้ เป็นหน้าที่ของเกษตรกรต้องเป็นผู้กำหนดว่าจะให้ข้าวเปลือกประเภทใดเข้าโครงการเป็นลำดับที่ 1 หรือ 2 หรือ 3 ตามที่ตนเองประสงค์
5. การกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงและประกาศเกณฑ์กลาง
คณะอนุกรรมการกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว (คณะอนุกรรมการฯ) จะกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอ้างอิง เพื่อใช้เป็นเกณฑ์คำนวณจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างระหว่างราคาประกันและเกณฑ์กลางอ้างอิง ให้แก่เกษตรกรและจะประกาศเกณฑ์กลางอ้างอิงให้เกษตรกรและส่วนงานที่เกี่ยวข้องทราบ ทั้งนี้ เกณฑ์กลางอ้างอิงที่ประกาศจะถือใช้เป็นราคาเดียวเท่ากันทุกจังหวัดแหล่งผลิตและคณะอนุกรรมการกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงจะประกาศเกณฑ์กลางอ้างอิง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2553 โดยประกาศทุกวันที่ 1 และ 16 ของเดือน
- ตัวอย่าง -
เกณฑ์กลางอ้างอิงที่ประกาศวันที่ 1 มกราคม 2553 จะใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณส่วนต่างให้แก่เกษตรกรที่ขอใช้สิทธิตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 15 ของเดือนมกราคม 2553 และเกณฑ์กลางอ้างอิงที่ประกาศวันที่ 16 มกราคม 2553 จะใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณส่วนต่างให้แก่เกษตรกรที่ขอใช้สิทธิตั้งแต่วันที่ 16 ถึงวันที่31 ของเดือนมกราคม 2553 (กรณีเดือนใดมี 30 วัน จะครอบคลุมตั้งแต่วันที่ 16 ถึงวันที่ 30)
6. การกำหนดวันใช้สิทธิขอรับเงินชดเชยส่วนต่างราคาประกัน
เกษตรกรสามารถกำหนดวันใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันเก็บเกี่ยวที่ระบุในใบรับรองฯ และต้องอยู่ในช่วงเวลา ตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2553 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2553 เท่านั้นและภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2553 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2553
- กรณีจัดทำสัญญาประกัน ฯ ก่อนวันที่เก็บเกี่ยวตามใบรับรอง ฯ เกษตรกรสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันที่เก็บเกี่ยวเป็นต้นไป ซึ่งต้องไม่เกินวันสิ้นสุดกำหนดวันใช้สิทธิ โดยเกษตรกรสามารถแจ้งในวันทำสัญญาหรือแจ้งในภายหลังได้ ทั้งนี้ กรณีแจ้งขอใช้สิทธิในภายหลังวันที่เกษตรกรจะกำหนด
วันขอใช้สิทธิให้นับตั้งแต่วันที่เกษตรกรมาแจ้งขอใช้สิทธิเป็นต้นไป ซึ่งต้องไม่เกินวันสิ้นสุดกำหนดวันใช้สิทธิ
- กรณีจัดทำสัญญาประกัน ฯ หลังวันที่เก็บเกี่ยวตามใบรับรอง ฯ เกษตรกรสามารถใช้สิทธิย้อนหลังได้ตั้งแต่วันเก็บเกี่ยวเป็นต้นไป ซึ่งต้องไม่เกินวันสิ้นสุดกำหนดวันใช้สิทธิ
โดยเกษตรกรจะต้องแจ้งวันใช้สิทธิในวันทำสัญญา กรณีเกษตรกรประสงค์จะขอกำหนดวันใช้สิทธิในภายหลัง วันที่เกษตรกรจะขอใช้สิทธิให้นับตั้งแต่วันที่เกษตรกรมาแจ้งขอใช้สิทธิเป็นต้นไป ซึ่งต้องไม่เกินวันสิ้นสุดกำหนดวันใช้สิทธิ

สำหรับกรณีเกษตรกรระบุวันใช้สิทธิไว้แล้ว และมีความประสงค์ขอเปลี่ยนแปลงวันใช้สิทธิ ให้ดำเนินการได้เฉพาะกรณียังไม่ถึงวันใช้สิทธิเท่านั้น โดยต้องแจ้งขอเปลี่ยนแปลงวันใช้สิทธิล่วงหน้าก่อนถึงวันใช้สิทธิ 3 วันทำการ หากเลยกำหนดวันใช้สิทธิเดิมไปแล้วเกษตรกรจะขอเปลี่ยนแปลงวันใช้สิทธิไม่ได้
7. ระยะเวลาโครงการ
ตั้งแต่เดือนมกราคม 2553 ถึงเดือน มกราคม 2554
คุณสมบัติของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ
1. เป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2552/53 (รอบที่ 2) ที่ขึ้นทะเบียนการปลูก และผ่านการประชาคม โดยมีใบรับรอง ฯ
2. เกษตรกรครัวเรือนหนึ่ง จะเข้าร่วมโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวได้เพียง 1 รายเท่านั้น ยกเว้นเกษตรกรอาศัยอยู่ในครัวเรือนเดียวกันมากกว่า 1 ครอบครัว และแต่ละครอบครัวแยกการทำกินเป็นอิสระต่างหากจากกันอย่างชัดเจน โดยคณะกรรมการประชาคมได้ตรวจสอบการทำการผลิตถึงบ้าน และนาไร่แล้ว ให้เกษตรกรรายดังกล่าวนั้นเข้าโครงการได้
3. เกษตรกรทั่วไปสามารถขอเข้าโครงการเพื่อจะทำสัญญาประกันเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2552/53 (รอบที่ 2) (สัญญาประกัน ฯ) ได้ตามภูมิลำเนา (สำเนาทะเบียนบ้านของเกษตรกร) ณ ธ.ก.ส. สาขา ที่ตั้งภูมิลำเนา กรณีเกษตรกรทั่วไปมีภูมิลำเนาอยู่ห่างไกลคนละจังหวัดกับพื้นที่เพาะปลูก อนุโลมให้ ธ.ก.ส. สาขา ที่ตั้งแหล่งพื้นที่เพาะปลูก สามารถรับสมัครเข้าร่วมโครงการได้ตามความจำเป็นเป็นราย ๆ ไป
กรณีเกษตรกรผู้ขอเข้าโครงการเป็นลูกค้า ธ.ก.ส. ให้ขอเข้าโครงการเพื่อจัดทำสัญญาประกันรายได้เกษตรกร ณ ธ.ก.ส. สาขา ที่ลูกค้าสังกัดเท่านั้น
ติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติม ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ