วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554

ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลหนองแวง
เตือนภัยศัตรูข้าวระบาด
ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 เดือน สิงหาคม 2552 องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง








โรคไหม้ข้าว
พบมากในนาน้ำฝน ข้าวพันธุ์พื้นเมือง พบส่วนใหญ่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตระวันตก และภาคใต้
สาเหตุ / เกิดจากเชื้อรา
อาการ - ระยะกล้า ใบมีแผล จุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตา มีสีเทาอยู่ตรงกลางแผล ความกว้างของแผลประมาณ 2-5 มิลลิเมตร และความยาวประมาณ 10-15 มิลลิเมตร แผลสามารถขยายลุกลามและกระจายทั่วบริเวณใบ ถ้าโรครุนแรงกล้าข้าวจะแห้งฟุบตาย อาการคล้ายถูกไฟไหม้
- ระยะแตกกอ อาการพบได้ที่ใบ ข้อต่อของใบ และข้อต่อของลำต้น ขนาดแผลจะใหญ่กว่าที่พบในระยะกล้า แผล ลุกลามติดต่อกันได้ที่บริเวณข้อต่อ ใบจะมีลักษณะแผลช้ำสีน้ำตาลดำและมักหลุดจากกาบใบเสมอ





- ระยะคอรวง ( ระยะออกรวง) ถ้าข้าวเพิ่งจะเริ่มให้รวง เมื่อถูกเชื้อราเข้าทำลาย เมล็ดจะลีบหมด แต่ถ้าเป็นโรคตอน รวงข้าวแก่ใกล้เก็บเกี่ยว จะปรากฏรอยแผลช้ำสีน้ำตาลที่บริเวณคอรวง ทำให้เปาะหักง่าย รวงข้าวเสียหายมาก



การแพร่ระบาด พบโรคแปลงที่ต้นข้าวหนาแน่น ทำให้อับลม ถ้าใส่ปุ๋ยมากและมีสภาพแห้งในตอนกลางวันและชื้นจัดในตอนกลางคืน น้ำค้างยาวนาน ถึงตอนสายราว 9 โมงเช้า ถ้าอากาศค่อนข้างเย็น อุณหภูมิประมาณ 22-25 องศาเซนเซียส ลมแรงจะช่วยทำให้โรคแพร่กระจายได้ดี

การป้องกันกำจัด
- ใช้พันธุ์ต้านทานโรค เช่น
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น สุรินทร์ 1 เหนียวอุบล 2 เหนียวแพร่ สันป่าตอง 1 หางยี 71
- หว่านเมล็ดพันธุ์ในอัตราที่เหมาะสม คือ 15-20 กก./ ไร่ ควรแบ่งแปลงให้มีการระบายถ่ายเทอากาศ อย่าใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป ( ยูเรีย ) ถ้าถึง 50 กก./ไร่ โรคไหม้จะพัฒนาอย่างรวดเร็ว
- คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารกำจัดเชื้อรา เช่น คาซูกะมัยซิน ไตรไซคลาโซล คาร์เบนดาซิม ตามอัตราที่ระบุในแหล่งที่เคยมีโรคระบาดและพบแผลโรคไหม้ทั่วไป 5 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ใบ ควรฉีดพ่นสารเคมี เช่น อิดิเฟนฟอส ไตรไซคาโซล ไอโซโปรไธโอเลน คาร์เบนดาซิม ตามอัตราที่ระบุ



พบมากในนาน้ำฝน นาชลประทาน ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้
สาเหตุ : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
อาการ : โรคนี้เป็นได้ตั้งแต่ระยะกล้า แตกกอ จนถึงออกรวง ต้นกล้าก่อนนำไปปักดำจะมีจุดเล็ก ๆ ลักษณะช้ำที่ขอบใบของใบล่าง ต่อมาประมาณ 7-10 วัน จุดช้ำนี้จะขยายกลาย เป็นทางสีเหลืองยาวตามใบข้าว ใบที่เป็นโรคจะแห้งเร็ว และสีเขียวจะจางลงเป็นสีเทา ๆ อาการในระยะปักดำจะแสดงหลังปักดำแล้ว หนึ่งเดือน – เดือนครึ่ง ใบที่เป็นโรคขอบใบมีรอยขีดช้ำ ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ที่แผลมี




หยดน้ำสีครีม คล้ายยางสนกลม ๆ ขนาดเล็กเท่าหัวเข็มหมุด ต่อมาจะกลายเป็นสีน้ำตาล และหลุดไปตามลม น้ำหรือฝน ซึ่งจะสามารถทำให้โรคะบาดต่อไปได้ แผลจะขยายไปตามความยาวของใบบางครั้งขยายเข้าไปข้างใน ตามความกว้างของใบขอบแผลมีลักษณะเป็นขอบลายหยัก แผลนี้เมื่อนานไปจะเปลี่ยนเป็นสีเทา ใบที่เป็นโรค ขอบใบจะแห้งและม้วนตามความยาว ในบางกรณีที่เชื้อ มีปริมาณสูง เข้าทำลาย ทำให้ท่อน้ำท่ออาหารอุดตัน ต้นข้าวทั้งต้นจะเหี่ยวเฉาและตายโดยรวดเร็วเรียกอาการนี้ว่า
ครีเสก
การแพร่ระบาด : แพร่ระบาดติดไปกับน้ำ ในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง ในสภาพที่มีฝนตก ลมพัดแรง จะช่วยให้โรคแพร่กระจายอย่างกว้างขวางรวดเร็ว
การป้องกันกำจัด :
- ใช้พันธุ์ข้าวต้านทาน เช่นในภาคกลาง ใช้พันธุ์สุพรรณบุรี 60 พันธุ์สุพรรณบุรี 90 พันธุ์สุพรรณบุรี 1 พันธุ์สุพรรณบุรี 2 แล ะกข 23
- ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในดินที่อุดมสมบูรณ์อยู่แล้ว
- ไม่ควรระบายน้ำจากแปลงนาที่เป็นโรคไปสู่แปลงอื่น
- ควรเฝ้าระวังการเกิดโรค ถ้าปลูกข้าวพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคนี้ เช่นพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 กข 6 เหนียวสันป่าตอง พิษณุโลก 2
การใช้สารเคมีในกรณีที่พบการระบาดรุนแรง
- ใช้สเตร็พโตมัยซินซัลเฟต+ ออกซิเตรตตราไซคลินไฮโดรคลอร์ไรด์ ฉีดพ่น ตามคำแนะนำ









หนอนกอข้าวหนอนกอทำลายข้าวตั้งแต่ข้าวเล็ก จนถึงระยะข้าวออกรวง ในประเทศไทยมีรายงานพบ 4
ชนิดคือ หนอนกอสีครีม หนอนกอแถบลาย หนอนกอแถบลายม่วง และหนอนกอสีชมพู
ลักษณะการทำลายและการระบาด
หนอนกอข้าวทั้ง 4 ชนิดทำลายข้าวลักษณะเดียวกัน โดยหลังจากหนอนฟักออกจากไข่จะเจาะเข้าทำลายกาบใบ ทำให้กาบใบมีสีเหลืองหรือน้ำตาล ซึ่งจะเห็นเป็นอาการช้ำๆ เมื่อฉีกกาบใบดูจะพบตัวหนอน เมื่อหนอนโตขึ้นจะกัดกินส่วนของลำต้น ทำให้เกิดอาการใบเหี่ยวในระยะแรก ใบและยอดที่ถูกทำลายจะเหลืองในระยะต่อมา ซึ่งทำลายในระยะข้าวแตกกอนี้ทำให้เกิดอาการ ยอดเหี่ยว ถ้าหนอนเข้าทำลายระยะข้าวตั้งท้องหรือหลังจากข้าวออกรวง จะทำให้เมล็ดข้าวลีบทั้งรวง รวงข้าวมีสีขาว เรียกอาการนี้ว่า ข้าวหัวหงอก
หนอนกอข้าวเป็นแมลงศัตรูข้าวที่พบเป็นประจำในนาข้าว แต่มักจะไม่ทำความเสียหายข้าวลีบทั้งรวง รวงข้าวมีสีขาวเรียกอาการนี้ว่า รุนแรงเช่นเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล พบปริมาณมากในฤดูนาปรัง การทำลายจึงสูงกว่าฤดูนาปี ผีเสื้อหนอนกอข้าวจะเคลื่อนย้ายเข้าสู่แปลงนาเมื่อข้าวอายุระหว่าง 30-50 วัน การระบาดมากน้อยขึ้นกับสภาพแวดล้อม และฤดูการทำนาของสถานที่นั้น ๆ สามารถเพิ่มปริมาณได้2-3 อายุขัยต่อฤดูปลูก
พืชอาหาร
ข้าว อ้อย ข้าวโพด ข้าวป่า หญ้าตีนกา
การป้องกันกำจัด
1. เผาตอซังหลังการเก็บเกี่ยว ไขน้ำท่วมและไถดินเพื่อทำลายหนอนและดักแด้ของหนอนกอข้าวที่อยู่ตามตอซังข้าว
2. ปลูกพืชอื่นเพื่อตัดวงจรชีวิตของหนอนกอข้าว ปลูกพืชหมุนเวียน
3. ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป ทำให้ใบข้าวงาม หนอนกอชอบวางไข่
4. ใช้ไฟล่อตัวเต็มวัยและทำลาย
5. ไม่ใช้สารฆ่าแมลงชนิดเม็ดในนาข้าว เพื่อช่วยให้ศัตรูธรรมชาติ พวกแตนเบียนไข่ของหนอนกอข้าว สามารถควบคุมประชากรหนอนกอข้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. เมื่อพบอาการข้าวยอดเหี่ยวในระยะข้าว 3-4 สัปดาห์หลังหว่าน / ปักดำในระดับ 10-15 % ให้ใส่สารชนิดพ่นน้ำ เช่น คลอร์ไพริฟอส อัตรา 80 มิลลิกรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วแปลงเพียงครั้งเดียว
สารเคมีที่ใช้ควบคุม
- คาร์แทป 4 กก./ไร่
- คาร์แทป + ไอโซดพคาร์บ 3 กก./ไร่
สารสมุนไพรที่ใช้ควบคุม
- เถาบอระเพ็ด ( เครือกอฮอ ) นำมาทุบแล้วมัดเป็นกำขวางไว้ที่ทางน้ำไหลเข้าแปลงนา จะช่วยไล่หนอนกอได้

เพลี้ยกระโดดสีนำ้ตาลเป็นแมลงพวกปากดูด ตัวเต็มวัยมีลำตัวสีน้ำตาลปนดำ มีรูปร่าง 2 ลักษณะ คือชนิดปีกยาว และชนิดปีกสั้น ชนิดมีปีกยาว สามารถเคลื่อนย้ายและอพยพไปในระยะทางใกล้และไกล โดยอาศัยกระแสลมช่วย ตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่เป็นกลุ่ม ส่วนใหญ่วางไข่ที่กาบใบข้าว หรือเส้นกลางใบ โดยวางไข่เป็นกลุ่ม เรียงแถวตามแนวตั้งฉากกับกาบใบข้าว บริเวณที่วางไข่จะมีรอยช้ำเป็นสีน้ำตาล ไข่มีลักษณะรูปกระสวยโค้งคล้ายกล้วยหอม มีสีขาวขุ่น ตัวอ่อนมี 5 ระยะ ระยะตัวอ่อน 16-17 วันตัวเต็มวัยเพศเมียชนิดปีกยาว มีขนาด 4-4.5 มิลลิเมตร วางไข่ประมาณ 100 ฟอง เพศผู้มีขนาด 3.5-4 มิลลิเมตร เพศเมียชนิดปีกสั้นวางไข่ประมาณ 300 ฟอง ตัวเต็มวัยมีชีวิตประมาณ 2 สัปดาห์ในหนึ่งฤดูปลูกข้าว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถเพิ่มปริมาณได้ 2-3 อายุขัย

ลักษณะการทำลาย เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยทำลายข้าวโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากเซล บริเวณโคนต้นข้าวระดับเหนือผิวน้ำ ทำให้ต้นข้าวมีอาการใบเหลืองแห้งลักษณะคล้ายถูกน้ำร้อนลวกแห้งตายเป็นหย่อมๆ เรียก อาการไหม้ โดยทั่วไปพบอาการไหม้ระยะข้าวแตกกอถึงระยะออกรวง ซึ่งตรงกับช่วงอายุขัยที่ 2-3 ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว นาข้าวที่ขาดน้ำตัวอ่อนจะลงมาอยู่ทีบริเวณโคนกอข้าวหรือบนพื้นดินที่แฉะ มีความชื้น นอกจากนี้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ยังเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสโรคใบหงิกมาสู่ต้นข้าว ทำให้ต้นข้าวมีอาการแคระแกร็น ต้นเตี้ย ใบสีเขียว แคบและสั้น ใบแก่ช้ากว่าปรกติ ปลายใบบิดเป็นเกลียวและขอบใบแหว่งวิ่น

ปัจจัยที่มีผลต่อการระบาด
วิธีการปลูกข้าว การปลูกข้าวแบบนาหว่านน้ำตมมีปัญหาการระบาดมากกว่านาดำ เพราะนาหว่านมีจำนวนต้นข้าวหนาแน่น ทำให้อุณหภูมิและความชื้นในแปลงนาเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ประกอบกับนาหว่าน เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถทำลายข้าวได้อย่างต่อเนื่อง
การใช้ปุ๋ย การใช้ปุ๋ยอัตราสูง โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน ทำให้การเพิ่มจำนวนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวมีแนวโน้มมากขึ้น เนื่องจากปุ๋ยไนโตรเจน ทำให้ใบข้าวเขียว หนาแน่น ต้นข้าวมีสภาพอวบน้ำเหมาะแก่การเข้าดูดกินและขยายพันธุ์ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
การควบคุมน้ำในนาข้าว สภาพนาข้าวที่มีน้ำขังในนาตลอดเวลาทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถเพิ่มจำนวนได้มากกว่าสภาพที่มีการระบายน้ำในนาออกเป็นครั้งคราว เพราะมีความชื้นเหมาะแก่การเจริญเติบโตของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
การใช้สารฆ่าแมลง การใช้สารฆ่าแมลง ในระยะที่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นตัวเต็มวัยชนิดปีกยาวหรือช่วงที่อพยพเข้าในนาข้าวใหม่ ๆ ( ข้าวระยะ 30 วัน หลังหว่าน ) ศัตรูธรรมชาติจะถูกทำลาย และสารฆ่าแมลงก็ไม่สามารถทำลายไข่ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ ทำให้ตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่มีโอกาสรอดชีวิตสูง
ศัตรูธรรมชาติที่มีบทบาทในการควบคุมประชากรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้แก่
มวนเขียวดูดไข่ เป็นตัวห้ำที่สำคัญทำลายไข่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยการดูดกินของเหลวภายในไข่มักพบแพร่กระจายในภาคกลางเป็นส่วนใหญ่และอพยพมาพร้อมกับเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ซึ่งถ้าพบมวนชนิดนี้ในนามากกว่าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล 2-3 เท่า มวนชนิดนี้สารถควบคุมการเพิ่มปริมาณของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผลผลิตข้าวได้


แมลงมุมสุนัขป่า เป็นตัวห้ำที่มีบทบาทมากที่สุดในการควบคุมปริมาณตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว เนื่องจากสามารถเคลื่อนย้ายไปมาในพื้นที่ต่างๆในนา โดยจะเคลื่อนย้ายเข้าในนาระยะหลังหว่านข้าวและจะเพิ่มปริมาณสูงในระยะข้าวแตกกอ


การบริหารจัดการเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
1. ปลูกข้าวพันธุ์ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เช่น สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 2
สุพรรณบุรี 90 สุพรรณบุรี 60 ปทุมธานี 1 ชัยนาท 1 และชัยนาท 2 และไม่ควรปลูกพันธุ์เดียวกันติดต่อกันเกิน 4 ฤดูปลูก ควรปลูกสลับกันระหว่างพันธุ์ต้านทานสูงกับพันธุ์ทนทานหรือพันธุ์อ่อนแอปานกลางโดยพิจารณาอายุการเก็บเกี่ยวให้ใกล้เคียงกัน เพื่อลดความเสียหายเมื่อเกิดการระบาดรุนแรง
2. ในแหล่งที่มีการะบาด และควบคุมน้ำในนาได้ หลังปักดำหรือหว่าน 2-3 สัปดาห์จนถึงระยะตั้งท้อง ควบคุมน้ำในนาให้พอดินเปียกหรือมีน้ำเรี่ยผิวดินนาน 7-10 วันแล้วปล่อยขังทิ้งไว้ให้แห้งเองสลับกันไป จะช่วยลดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
3. เมื่อตรวจพบสัดส่วนของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลตัวเต็มวัยต่อมวนเขียวดูดไข่ระหว่าง 6 : 1 – 8 : 1 หรือตัวอ่อนระยะ 1-2 เมื่อข้าวอายุ 30 -45 วัน จำนวนมากกว่า 10 ตัวต่อต้น ให้ใช้สารฆ่าแมลง
- บูโฟเฟซิน ( แอปพลอท 10 % ) อัตรา 25 มิลลลิกรัม ต่อน้ำ 20 ลิตรพ่น
- ใช้สาร อีโทเพนพรอกซ์ ( ทรีบอน 10 % ) อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตรพ่น
- บรูโพรเฟซิน/ ไอโซคาร์บ ( แอพลอท / มิพวิน 5 % / 20 % อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
เมื่อพบแมลงส่วนใหญ่เป็นตัวเต็มวัยจำนวนมากกว่า 1 ตัว/ ต้น ในระยะข้าวตั้งท้องถึงออกรวง
- ใช้สารอิมิดาโคลฟริด ( คอรฟิดอร์ 10 % ) อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
4. ไม่ควรใช้สารฆ่าแมลงที่ทำให้เกิดการเพิ่มระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลหรือสารกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ เช่น แอลฟาไซเฟอร์มิทริน ไซแฮโลทริน เดคาเมททริน

สารเคมีที่ใช้ควบคุม
- คาร์แทป + ไอโซโพคาร์บ 5 กก./ ไร่
- อิมิดาโคลพริด 15- 30 ซีซี/ น้ำ 20 ลิตร
- บูโพรเฟซิน +ไอโซโปร์คาร์บ 50 กรัม / น้ำ 20 ลิตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น